seach

แถลงข่าว rss
8 ก.ย. 2566
icon48
กระทรวงการคลังขอเรียนว่า กระทรวงการคลังได้พิจารณาอนุญาตให้นิติบุคคลต่างประเทศออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาทในประเทศไทย รอบอนุญาตที่ 3/2566 (ออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้ระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2566 – 31 พฤษภาคม 2567) จำนวน 1 ราย ได้แก่ บริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด (Xayaburi Power Company Limited: XPCL)
5 ก.ย. 2566
icon45
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม (คณะกรรมการฯ) ในฐานะหน่วยงาน ที่รับผิดชอบหลักในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 (โครงการฯ) ได้ประกาศผล การพิจารณาคุณสมบัติสำหรับรอบอุทธรณ์
30 ส.ค. 2566
icon167
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนสิงหาคม 2566 จากการประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค พบว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนสิงหาคม 2566 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้าที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากปัจจัยสนับสนุนในภาคบริการเป็นสำคัญ”
27 ส.ค. 2566
icon157
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เข้าร่วมการประชุมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอาเซียน (The ASEAN Finance and Health Ministers’ Meeting: AFHMM) และการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน (ASEAN Finance Ministers and Central Bank Governors’ Meeting: AFMGM) ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 24 - 25 สิงหาคม 2566 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางสาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นประธานร่วม ของการประชุม AFMGM ครั้งที่ 10 ประจำปี 2566 ภายใต้แนวคิดหลัก “อาเซียนสำคัญ: ศูนย์กลางของความเติบโต” (ASEAN Matters: Epicentrum of Growth)
23 ส.ค. 2566
icon164
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงว่า ในระหว่างวันที่ 24 – 25 สิงหาคม 2566 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีกำหนดเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน (ASEAN Finance Ministers and Central Bank Governors’ Meeting: AFMGM) ครั้งที่ 10 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (การประชุมฯ) ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางสาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นประธานร่วมของการประชุม AFMGM ครั้งที่ 2 ของปี 2566 ภายใต้แนวคิดหลัก “อาเซียนสำคัญ: ศูนย์กลางของความเติบโต” (ASEAN Matters: Epicentrum of Growth)
21 ส.ค. 2566
icon244
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผย ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 – กรกฎาคม 2566) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ จำนวน 2,148,820 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 150,899 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.6 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.2 โดยหน่วยงานที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ (1) กรมสรรพากร โดยเฉพาะจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (2) ส่วนราชการอื่น เนื่องจากมีรายได้พิเศษที่ไม่ได้อยู่ในประมาณการ เช่น การนำส่งทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของ ทุนหมุนเวียนเป็นรายได้แผ่นดิน การนำส่งเงินเหลือจ่ายจากเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลัง กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 เป็นรายได้แผ่นดิน เงินส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตรกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล รายได้จากสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น และ (3) กรมศุลกากร เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าสูงกว่าประมาณการ ซึ่งเป็นผลของค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง ประกอบกับมีการชำระอากรขาเข้าย้อนหลังตามคำพิพากษาคดี อย่างไรก็ดี การจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตต่ำกว่าประมาณการจากการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิต น้ำมันดีเซลตั้งแต่ต้นปีงบประมาณเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนเป็นการชั่วคราวจาก ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูง
21 ส.ค. 2566
icon204
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงข่าวฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 - กรกฎาคม 2566) รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น จำนวน 2,145,112 ล้านบาท ในขณะที่มี การเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้นจำนวน 2,799,540 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 450,643 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 298,943 ล้านบาท
8 ส.ค. 2566
icon213
กระทรวงการคลัง ขอชี้แจงประเด็นที่มีข่าวลือและส่งต่อกันในสื่อสังคมออนไลน์ว่า กระทรวงการคลังจะมีการเสนอตัดสิทธิเบี้ยยังชีพของประชาชนนั้น กระทรวงการคลัง ขอยืนยันว่าข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง กระทรวงการคลังไม่ได้มีแนวคิดที่จะตัดสิทธิดังกล่าว เนื่องจากทราบดีว่าจะส่งผลกระทบและเป็นการซ้ำเติมประชาชน
26 ก.ค. 2566
icon88
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 ว่า “เศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0 ถึง 4.0) ขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2565 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 ต่อปี โดยได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวและอุปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียที่เพิ่มขึ้นมาก ซึ่งคาดว่าทั้งปี 2566 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจำนวน 29.5 ล้านคน ขยายตัวที่ร้อยละ 164.2 ต่อปี และมีรายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ จำนวน 1.25 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 243.8 จากปี 2565 และการบริโภคภาคเอกชนที่คาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.5 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.0 ถึง 5.0) ตามการเพิ่มขึ้นของรายได้และแรงกดดันของอัตราเงินเฟ้อที่คลี่คลายลง สำหรับการลงทุนภาคเอกชนคาดว่าขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.1 ถึง 3.1) จากความเชื่อมั่นของเศรษฐกิจภายในประเทศที่เริ่มกลับมาดีขึ้นตามทิศทางของเศรษฐกิจโดยรวม อย่างไรก็ดี การดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาและกลุ่มสหภาพยุโรปยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญของไทย จึงคาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐจะหดตัวที่ร้อยละ -0.8 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -1.3 ถึง -0.3) นอกจากนี้ การบริโภคภาครัฐคาดว่าหดตัวที่ร้อยละ -2.1 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -2.6 ถึง -1.6) ในขณะที่การลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.2 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.7 ถึง 2.7) โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ที่ล่าช้ากว่าปีที่ผ่านมา
26 ก.ค. 2566
icon29
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนกรกฎาคม 2566 จากการประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค พบว่า "ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคเดือนกรกฎาคม 2566 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้า ที่ดีขึ้นในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการและภาคการลงทุนเป็นสำคัญ"